วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
            การแก้สมการ คือ การหาค่าของตัวแปรในสมการที่ทำให้สมการเป็นจริงโดยอาศัยสมบัติการเท่ากันของจำนวนจริง ดังนี้ สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
            สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว คือ สมการที่มีตัวแปรเพียงตัวเดียว และเลขขี้กำลังของตัวแปรเป็น 1 สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวจะสามารถเขียนให้อยู่ในรูปอย่างง่าย ดังนี้
          ax + b = 0
เมื่อ a, b เป็นค่าคงตัว และ a ไม่เท่ากับ 0 เช่น
          2x+3 = 0
          2a+1 = 0
สมบัติการเท่ากันของจำนวนจริง
            เมื่อ a, b และ c เป็นจำนวนจริง
          1)
สมบัติสมมาตร (symmetric property)
                ถ้า a = b แล้ว b = a
          2) สมบัติการถ่ายทอด (transitive property)
                 ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c
          3)
สมบัติการแจกแจงหรือการกระจาย(distributiveproperty)
               a(b+c) = ab + ac
          4)
สมบัติการบวก(additiveproperty)
                 ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c
              หรือ a - c = b - c
          5)
สมบัติการคูณ (multiplicative property)
                 ถ้า a = b แล้ว
              a x c = b x c
                 หรือ a / c = b / c เมื่อ c ไม่เท่ากับ 0
วิธีแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวทำได้ดั้งนี้
          1) จัดสมการให้อยู่ในรูปอย่างง่าย โดยให้ตัวแปรอยู่ข้างหนึ่ง และตัวคงที่อยู่อีกข้างหนึ่ง โดยใช้คุณสมบัติการบวก
(2)
ถ้าสมการอยู่ในรูปของเศษส่วน ให้พยายามทำส่วนให้หมด โดยนำ ค.ร.น. ของส่วนคูณทุกพจน์
(3)
ถ้าสมการอยู่ในรูปที่มีวงเล็บ ให้จัดการถอดวงเล็บออกก่อนโดยใช้สมบัติการแจกแจง
(4)
ดำเนินการแก้สมการโดยใช้สมบัติการเท่ากันของจำนวนจริง หรือจะทำอย่างรวดเร็วโดยการย้ายข้าง            
            การย้ายให้เปลี่ยนเครื่องหมายของตัวที่ย้าย จากบวกเป็นลบ จากลบเป็นบวก จากคูณเป็นหาร จากหารเป็นคูณ โดยจะย้าย จากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายก็ได้ ซึ่งการย้ายข้างก็คือ ก็คือ การใช้สมบัติเท่ากันของจำนวนจริงนั้นเอง
สมการเชิงเส้นสองตัวแปร กราฟเส้นตรง
            กราฟเส้นตรง
สมการกราฟเส้นตรงจะอยู่ในรูปต่าง ๆ ดังนี้
1. y = mx + c เป็นสมการเส้นตรงในรูปความชันที่มีความชัน
เท่ากับ m และระยะตัดแกน Y เท่ากับ c
ตัวอย่าง
y = 3x + 2 y = 2x - 5
y = x + 7
y = - x - 8
2. Ax + By + C = 0 เป็นสมการเส้นตรงในรูปทั่วไป
ตัวอย่าง
เช่น x + 2y + 5 = 0
3x - 4y - 12 = 0
8x + 7y - 20 = 0
เราสามารถเปลี่ยนสมการเส้นตรงในรูปทั่วไปให้ในรูปความชันได้ ดังนี้
Ax + By + C = 0
By = - Ax - C
Y = - X - (
นำ B หารตลอด)
เมื่อเทียบ y = mx + c
จะได้ m = - และ C = -
3. y = c เป็นสมการเส้นตรงที่ขนานกับแกน X และอยู่ห่างจากแกน X เป็นระยะทาง C หน่วย
ตัวอย่าง
Y = 2
เป็นสมการเส้นตรงที่ขนานกับแกน X และอยู่เหนือแกน X = 2 หน่วย
Y = -5
เป็นสมการเส้นตรงที่ขนานกับแกน X และ
อยู่ใต้แกน X = 5 หน่วย
4. X = C เป็นสมการเส้นตรงที่ขนานกับแกน Y และอยู่ห่างจากแกน Y เป็นระยะ 5 หน่วย |C| หน่วย
ตัวอย่าง
X = 3
เป็นสมการเส้นตรงที่ขนานกับแกน Y และอยู่ห่าง
จาก แกน Y ไปทางขวา 3 หน่วย
X = -4
เป็นสมการเส้นตรงที่ขนานกับแกน Y และห่างอยู่
จาก แกน Y ไปทางซ้าย 4 หน่วย
การเขียนกราฟแสดงเส้นตรง
การเขียนกราฟแสดงเส้นตรงเราอาจกำหนดจุด 2 จุด จากสมการ
ที่กำหนดให้แล้วลากเส้นผ่านจุดทั้งสองนั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดอาจกำหนดจุดมากกว่า 2 จุดก็ได้ ส่วนมากนิยมหาจุดที่กราฟตัดแกน X และแกน Y กราฟตัดแกน X เมื่อค่า y = 0 กราฟตัดแกน y เมื่อค่า X = 0
สมการที่อยู่ในรูประยะตัดแกน X และแกน Y คือ + = 1
เมื่อ a เป็นระยะตัดแกน X และ b เป็นระยะตัดแกน Y
จากสมการดังกล่าวเราได้จุดที่กราฟตัดแกน X คือ ( a , 0 ) และกราฟตัดแกน Y ที่จุด (0 , b)
ข้อสังเกต
ถ้าต้องการตรวจสอบกราฟที่เขียนมาถูกต้องหรือไม่ ให้สมมุติค่า X แล้วแทนในสมการ y = 2x - 5 เพื่อหาค่า y ดังนี้
ให้ x = 3 , y = 2(3) - 5 = 1
ดังนั้น จุด (3 , 1) จะอยู่บนเส้นตรงซึ่งมีสมการเป็น y = 2x - 5
ความชัน (Slope) ของเส้นตรง
ความชันของเส้นตรงที่เป็นสมการ y = mx + c คือ m
ความชันของเส้นตรงที่สมการเป็น Ax + By + C = 0 คือ -
ตัวอย่าง
ความชันของเส้นตรงที่เป็นสมการ y = 2x - 3 คือ 2
ความชันของเส้นตรงที่สมการเป็น 3x - 2y + 5 = 0 คือ =
ข้อสังเกต
1.
เส้นตรง y = 3x - 5 มีความชันเป็นบวก กราฟจะทำมุมแหลมกับแกน X ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
2.
เส้นตรง 3x + 4y - 12 = 0 มีความชันเป็นลบ กราฟจะทำมุมป้านกับแกน X ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
3.
ถ้ากราฟเป็นเส้นตรงที่ขนานกับแกน X จะมีความชันเป็นศูนย์
4.
ถ้ากราฟเป็นเส้นตรงที่ขนานกับแกน Y เส้นตรงนั้นไม่มีความชัน

กราฟเส้นตรงกับการนำไปใช้
การใช้กราฟเส้นตรงแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณสองชุดเป็นการบอกลักษณะของข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน ถ้าเราทราบปริมาณหนึ่ง จะหาค่าอีกปริมาณหนึ่งได้
กราฟเส้นตรง
กราฟเส้นตรงเป็นกราฟที่เขียนจากสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปร ซึ่งอยู่ในรูปทั่วไป
Ax + By + C = 0
เมื่อ A , B และ C เป็นค่าคงตัว ที่ A , B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน และจากรูปทั่วไปสมการเปลี่ยนให้อยู่ในรูปมาตราฐานคือ
y = mx + c m
และ c เป็นค่าคงตัว
การจัดสมการจากรูปทั่วไปเป็นมาตราฐานสามารถจัดได้กับสมการเชิงเส้นทุกสมการ และค่า m และ C จะทำให้บอกลักษณะของกราฟเส้นตรง
            ถ้าความชันเป็น+ กราฟจะทำมุมแหลมกับแกน x ถ้าความชันเป็น- กราฟจะทำมุมป้านกับแกน x

การศึกษาการให้ความสำคัญของโลจิสติกส์ในด้านต่างๆ
ของหลักสูตรโลจิสติกส์ในประเทศไทย
วรพจน์ มีถม, วงวุธ มหามิตร, มณฑิรา โหนแหยม, กนกกาญจน์ ขวัญนวล

บทคัดย่อ
                การศึกษาครั้งนี้ ศึกษาว่าหลักสูตรโลจิสติกส์ในประเทศไทยในปัจจุบันแต่ละหลักสูตรให้ความสำคัญกับโลจิสติกส์ในด้านต่างๆ อย่างไร หากแบ่งหมวดหมู่ของงานด้านโลจิสติกส์ออกเป็น 7 หมวด คือ 1) การจัดการด้านการขนส่ง 2) การจัดการโซ่อุปทาน 3) การจัดการโลจิสติกส์ภายในโรงงาน 4) การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์ 5) การจัดการกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ขององค์กร 6) การตัดสินใจในงานด้านโลจิสติกส์ 7) การจัดการและการพัฒนาองค์กร โดยพิจารณาจากการจัดกลุ่มกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ต่างๆ และวิชาที่เปิดในหลักสูตรโลจิสติกส์ในประเทศไทย แล้วนำไปให้เจ้าของหลักสูตรแต่ละหลักสูตรได้เปรียบเทียบหลักสูตรตนเองกับหมวดหมู่ต่างๆ เป็นคู่ๆ ตามแนวทางของกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์(Analytic Hierarchy Process, AHP) จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรโลจิสติกส์ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในหมวดหมู่ด้านการจัดการด้านการขนส่ง ซึ่งประกอบด้วยการขนส่งสินค้า การกระจายสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การขนถ่ายและการบริการลูกค้าต่าง ๆ เช่น การส่งมอบสินค้า หรือการบริการหลังการขายรวมถึงการ Reverse Logisticsส่วนหมวดหมู่ที่หลักสูตรในประเทศไทยให้ความสำคัญน้อยที่สุด คือ หมวดหมู่ด้านประกอบด้วยการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์ ด้านการบัญชีด้านการเงิน ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการจัดการและการพัฒนาองค์กร ซึ่งประกอบด้วย เรื่องเกี่ยวกับภาษีอากร และด้านพฤติกรรมองค์กรที่ เกี่ยวข้องกับงานด้านโลจิสติกส์ตลอดจนด้านการตลาด และงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คำสำคัญ กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์,โลจิสติกส์,หลักสูตร
1. บทนำ
                ในปัจจุบันโลจิสติกส์เป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ธุรกิจ และอื่นๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของแต่ละประเทศ ฉะนั้นความต้องการบุคลากรในด้านนี้ของประเทศไทย ในปัจจุบันมีสูงมาก จึงมีการเปิดหลักสูตรโลจิสติกส์เพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นไป โดยหลักสูตรที่เปิดมีตั้งแต่ วิศวกรรมโลจิสติกส์เทคโนโลยีโลจิสติกส์ การจัดการด้านโลจิสติกส์ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก หลักสูตรอบรมระยะสั้นและระยะยาวต่างๆ แม้แต่หน่วยงานภาครัฐก็ให้การสนับสนุน เช่น แผนพัฒนาสังคมและเศษฐกิจแห่งชาติ แผนนโยบายแห่งชาติ มีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ และถูกกำหนดเป็นวาระแห่งชาติเมื่อปลายปี 2546 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบลอจิสติกส์ของประเทศไทย พ..2550-2554 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนดวิสัยทัศน์ว่ามีระบบลอจิสติกส์ที่ได้มาตรฐานสากล (World Class Logistics) เพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางธุรกิจและการค้าของภูมิภาคอินโดจีน เพราะแนวโน้มการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น เนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัฒน์ที่มีการเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้น โดยกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ข้อที 5 ด้านการพัฒนากำลังคนและกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เป้าหมาย คือ มีบุคลากรด้านลอจิสติกส์ทั้งในภาคการผลิตและในอุตสาหกรรมให้บริการด้านโลจิสติกส์ เพียงพอต่อความต้องการ โดยมีตัวชี้วัดที่ 26 คือ ผลิตบุคลากรด้านลอจิสติกส์ ทั้งระดับผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัตกิ าร ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ SMEs ได้จำนวน 100,000 คน และในธุรกิจให้บริการด้านลอจิสติกส์ ได้จำนวน 285,000 คนภายในปี 2554 และตัวชี้วัดที่ 27 คือ มีบุคลากรผู้ฝึกสอน/อาจารย์ ที่มีศักยภาพ และมีความเชี่ยวชาญด้านลอจิสติกส์ในระดับในสากล จำนวน 1,370 คน ภายในปี 2554 การศึกษาในครั้งนี้จึงมุ่งเน้นที่การทราบทิศทางและภาวะปัจจุบันของหลักสูตรโลจิสติกส์ในประเทสไทยว่ามีแนวโน้มในการให้ความสำคัญทางด้านใด นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์กับผู้เรียนที่สามารถเลือกเรียนในหลักสูตรที่เน้นในด้านที่ต้องการ โดยพิจารณาจากการให้ความสำคัญของเจ้าของหลักสูตร และยังเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรโลจิสติกส์ในอนาคตเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนของโลกยุคปัจจุบัน เพื่อให้หลักสูตรทันสมัยและสามารถสร้างทรัพยากรบุคคลที่ มีความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ให้กับประเทศไทยต่อไป
2.ทฤษฎีพื้นฐาน
                กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process ,AHP ) พัฒนาขึ้นโดย Thomas L.
Saaty ซึ่งเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีหลายเกณ์ตัดสินใจหรือหลายเป้าประสงค์ (Multiple Criteria
Decision Making, MCDM)ที่ใช้ในการประเมินทางเลือกและเกณฑ์ตัดสินใจที่มีความขัดแย้งกัน เป็นการ
ตัดสินใจแบบที่มีทางเลือกที่มีจำนวนแน่นอนและจำกัด (Multiple Attribute Decision Making, MADM) เป็นการเรียงลำดับจากการกำหนดความสำคัญหรือความชอบของแต่ละทางเลือก (Out Ranking) (วรพจน์,2550)AHP เป็นกระบวนการตัดสินใจที่ช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถวินิจฉัยเปรียบเทียบองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมได้อย่างดีและเชื่อถือได้ เพราะว่าเป็นกระบวนการที่เลียนแบบกระบวนการคิดอย่างเป็นธรรมชาติของมนุษย์ AHP เป็นกระบวนการที่ช่วยเหลือในการแยกแยะองค์ประกอบที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมของปัญหาออกมาเป็นส่วนๆ แล้วนำองค์ประกอบต่างๆ เหล่านั้นมาแบ่งเป็นระดับชั้นจากบนลงมาสู่ล่างตามความสำคัญและผลกระทบที่มีต่อปัญหา นอกจากนี้ยังมีการใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ในการหาน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยหรือเกณฑ์ต่างๆ (วรพจน์,2550) (Chin,2002) รวมทั้งการหาสัมประสิทธ์ที่ใช้สำหับการโปรแกรมเชิงเส้นอีกด้วย (Omkarprasad และคณะ,2006)
3.การดำเนินการศึกษา
                การศึกษาเริ่มจากการศึกษาการแบ่งหมวดหมู่ของกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ที่เคยแบ่งไว้ ที่ผ่านมามี
หลายท่าน ดังนี้ บางท่านก็แบ่งเป็นกิจกรรมด้านต่างๆ (ฐาปนา,2549) (วิทยา,2547) (อรุณ,2545) คณะผู้
ศึกษาจึงนำเอากิจกรรมโลจิสติกส์ที่ได้แบ่งไว้แล้วมาจัดหมวดหมู่ตามหลักของ Kenny และ Raffa (Dryer and Forman,1992) ซึ่งเมื่อทดสอบจากการการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญหลักสูตรบางหลักสูตร พบว่าหมวดหมู่ที่ได้ยังไม่ครอบคลุมวิชาเรียนต่างๆ จึงทำการศึกษาหลักสูตรโลจิสติกส์ต่างๆเพิ่มเติม แล้วนำวิชาในหลักสูตร
ด้านโลจิสติกส์มาร่วมกับกิจกรรมโลจิสติกส์ที่ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้ แล้วจัดกลุ่มใหม่ โดยตั้งเป้าหมายว่าต้องมีหมวดหมู่ไม่เกิน 7 หมวดหมู่ เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้ จะใช้แนวคิดของกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์มาช่วยในการหาน้ำหนักความสำคัญ (วรพจน์,2550) (Chin,2002) (Satty,1980) โดยการเปรียบเทียบเป็นคู่ๆ
ของแต่ละหมวดปัจจัยที่แบ่งไว้ มิฉะนั้นในการสัมภาษณ์จะมีจำนวนของการเปรียบเทียบเป็นคู่ๆ ที่มากจนอาจทำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เบื่อ สับสน ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องในการเปรียบเทียบเกินค่าที่ยอมรับได้ คือ ร้อยละ10 (Satty,1980) เมื่อแบ่งหมวดหมู่แล้วนำไปทดสอบโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในหลักสูตรต่างๆ อีกครั้งแล้วนำไปสัมภาษณ์อาจารย์ที่เข้าใจในหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ของแต่ละหลักสูตร ในระดับปริญญาตรีขึ้นไปหลักสูตรละ 1 ท่าน เท่านั้น คณะผู้ศึกษาได้สัมภาษณ์คณบดี หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าสาขาวิชา ผู้อำนวยการหลักสูตร หัวหน้าหลักสูตร หรือผู้ที่ทราบเนื้อหาหลักสูตรทั้งหมดโดยการนัดสัมภาษณ์ด้วยตนเอง โดยสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ส่งโทรสารเพื่อตอบแบบสอบถาม และส่งทางไปรษณีย์ตอบกลับ นำผลการเปรียบเทียบเป็นคู่ๆ ตามแนวทางของกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แล้วใช้โปรแกรม Super decisions 1.6.0 มาวิเคราะห์หาน้ำหนักความสำคัญของหมวดหมู่ในแต่ละหลักสูตร
4.ผลการศึกษา
                จากการแบ่งหมวดหมู่โดยใช้กิจกรรมโลจิสติกส์ที่ถูกแบ่งไว้และเนื้อหาวิชาต่างๆ ในหลักสูตรโลจิสติกส์ แบ่งสามารถแบ่งออกเป็น 7 หมวดหมู่ ดังนี้ คือ
                1. การจัดการด้านการขนส่ง (Transport Management) คือ ประกอบด้วย การขนส่งสินค้า การกระจายสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การขนถ่าย และการบริการลูกค้า
ต่าง ๆ เช่น การส่งมอบสินค้า หรือการบริการหลังการขายรวมถึงการ Reverse Logistics
                2. การจัดการโซ่อุปทาน (Supply chains Management) ประกอบด้วย การพยากรณ์ การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าหรือผู้ส่งมอบ ในการจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอเหมาะสมกับความต้องการในโซ่อุปทาน
                3. การจัดการโลจิสติกส์ภายในโรงงาน (Industrial Management) ประกอบด้วย การจัดการสินค้าคง
คลัง การจัดการกระบวนการผลิต หรือ เทคนิคการผลิตต่าง ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตหรือลดต้นทุนตลอดจนการ Outsourcing งานด้านโลจิสติกส์
                4. การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์ (Technology Management and Information
system) คือ การใช้เทคโนโลยีด้านการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การจัดเก็บข้อมูล และการติดต่อสื่อสาร ภายในองค์กรหรือการติดต่อกับลูกค้า และผู้ส่งมอบ
                5. การจัดการกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ขององค์กร (Logistics Strategy Management) คือ การวางกล
ยุทธ์ในงานด้านโลจิสติกส์ ในระดับงานต่าง ๆ ภายในองค์กรเพื่อให้มีการทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
                6. การตัดสินใจในงานด้านโลจิสติกส์ (Decision making for Logistics) คือ การตัดสินใจในระดับต่างๆเช่น การเลือกทำเลที่ตั้งโรงงาน การตั้งคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า การคัดเลือกผู้ส่งมอบ การ
เลือกเส้นทางการขนส่ง รูปแบบการขนส่งต่าง ๆ เป็นต้น
                7. การจัดการและการพัฒนาองค์กร (Organization Management and Improvement) ประกอบด้วย
การพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์ ด้านการบัญชี ด้านการเงิน ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านภาษีอากรกฎระเบียบต่างๆ และด้านพฤติกรรมองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านโลจิสติกส์ ตลอดจนจัดการด้านการตลาด และงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาทำการค้นหาหลักสูตรโลจิสติกส์จากเวบไซด์ของมหาวิทยาลัยต่างๆและเวบไซด์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์ไปยังมหาวิทยาลัยว่าทางมหาวิทยาลัยนั้นๆ เปิดทำการสอนในหลักสูตรโลจิสติกส์หรือไม่ คณะผู้ศึกษาทำการรวบรวมได้ทั้งสิ้น 30 หลักสูตร ซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ๆได้ 3 หมวด คือ วิศวกรรมโลจิสติกส์ วิทยาศสาตร์หรือเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ และการบริหารและการจัดการด้านโลจิสติกส์ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ดังตารางที่ 1 และ
ตารางที่ 2

                                              






จากตารางที่ 3 จากการสัมภาษณ์โดยการเปรียบเทียบความสำคัญเป็นคู่ ในหลักสูตรด้านโลจิสติกส์
ต่างๆ ในระดับปริญญาตรี เกี่ยวกับการจัดการและบริหารธุรกิจ พบว่าทั้ง 3 หลักสูตร ให้น้ำหนักความสำคัญ
ในหมวดต่างๆ ดังนี้คือ พบว่ามี 2 หลักสูตรที่ให้ความสำคัญด้านการจัดการขนส่งมากที่สุด ร้อยละ 24.66 และ 28.56 ตามลำดับ และมีหนึ่งหลักสูตรให้ความสำคัญหมวดด้านการจัดการกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ขององค์กรใกล้เคียงกับหมวดด้านการตัดสินใจด้านโลจิสติกส์ และมี 1 หลักสูตรที่ให้ความสำคัญด้านการจัดการโลจิสติกส์ต่ำที่สุดคือ ร้อยละ 6.17 และทุกหลักสูตรที่ให้ความสำคัญด้านการจัดการและการพัฒนาองค์กรน้อยมาก ร้อยละ 8.458.91 และ 4.49 ตามลำดับ





จากตารางที่ 4 พบว่ามี 2 หลักสูตรที่ให้ความสำคัญหมวดด้านการจัดการโซ่อุปทานมากที่สุดที่ร้อยละ
18.57 และ 22.58 และมี 1 หลักสูตรที่ให้ความสำคัญหมวดด้านการจัดการการขนส่งมากที่สุดเป็น 33.23
หมวดที่ให้ความสำคัญน้อยที่สุดของแต่ละหลักสูตรแตกต่างกัน ดังนี้ หลักสูตรที่ 1 หมวดด้านการจัดการโลจิสติกส์ภายในโรงงานที่ร้อยละ 7.23 หลักสูตรที่ 2 หมวดด้านการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์ที่ร้อยละ 5.95 และหลักสูตรที่ 3 หมวดด้านการจัดการและการพัฒนาองค์กรที่ร้อยละ 4.01







ตารางที่ 5 จากการสัมภาษณ์พบว่าทั้งมี 1 หลักสูตรให้ความสำคัญในหมวดด้านการนำเทคโนโลยี
ต่างๆมาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์มากที่สุดที่ร้อยละ 35.16 อีกหลักสูตรให้ความสำคัญหมวดด้านการจัดการโซ่อุปทานและหมวดด้านการจัดการการขนส่งมากที่สุดใกล้เคียงกันทที่ร้อยละ 25.19 และ 22.26 ส่วนหมวดที่ทั้ง
2 หลักสูตรให้ความสำคัญน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดการและการพัฒนาองค์กรที่ร้อยละ 2.38 และ 4.65
ตามลำดับ






จากตารางที่ 6 จาการสัมภาษณ์พบว่าทุกหลักสูตรให้ความสำคัญหมวดด้านการจัดการขนส่งมากที่สุด
ในน้ำหนักความสำคัญที่สูงมากด้วยที่ร้อยละ 46.99 25.29 46.99 และ 32.12 ตามลำดับ มี 2 หลักสูตรที่ให้
ความสำคัญด้านการจัดการกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ขององค์กรน้อยที่สุด และมี 1 หลักสูตรที่ให้ความสำคัญ
หมวดการจัดการและการพัฒนาองค์กรน้อยที่สุดที่ร้อยละ 3.61 และมีหลักสูตรที่ 2 ให้ความสำคัญในหมวด
ต่างๆ ที่เหลือใกล้เคียงกันทั้งหมด







จากตารางที่ 7 จากการสัมภาษณ์หลักสูตรด้านโลจิสติกส์ต่างๆ ในระดับปริญญาโทวิทยาศาสตร์ 1
หลักสูตรให้น้ำหนักความสำคัญดังนี้ คือ หมวดหมู่ที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ให้น้ำหนักความสำคัญมากที่สุดมีคะแนน
ใกล้เคียงกันมีอยู่ 2 หมวด คือ หมวดที่ 2 ด้านการจัดการโซ่อุปทานที่ร้อยละ 25.09 และหมวดที่ 4 ด้านการนำ
เทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์ที่ร้อยละ 23.72 หมวดที่ให้น้ำหนักความสำคัญมากรองลงมามี
คะแนนใกล้เคียงกันมีอยู่ 2 หมวดคือ หมวดที่ 1 ด้านการจัดการการขนส่งเป็น 14.85 และหมวดที่ 3 ด้านการ
จัดการโลจิสติกส์ภายในโรงงาน เป็น 12.50 หมวดที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ให้น้ำหนักความสำคัญน้อยมีอยู่ 3 หมวด
คือ หมวดที่ 5 ด้านการจัดการกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ขององค์กรคิดเป็น 9.55 หมวดที่ 6 ด้านการตัดสินใจใน
งานด้านโลจิสติกส์คิดเป็น 9.54 และหมวดที่ 7 หมวดด้านการจัดการและการพัฒนาองค์กรคิดเป็น 4.75
5.วิเคราะห์ผลการศึกษาจากข้อมูลที่ได้มาพบว่าแต่ละหลักสูตรให้ความสำคัญในหมวดที่แตกต่างกันออกไป หมวดหมู่ที่หลักสูตรในประเทศไทยที่ได้ให้การสัมภาษณ์มาให้ความสำคัญมากที่สุด คือ หมวดด้านการจัดการด้านการขนส่งมี 7 หลักสูตร ใน 13 หลักสูตรที่สัมภาษณ์มา คิดเป็น ร้อยละ 53.85 ของหลักสูตรทั้งหมด โดยมีน้ำหนักความสำคัญอยู่ในช่วงร้อยละ 25.29-46.99 หมวดด้านการจัดการโซ่อุปทานมี 4 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ30.77 ของหลักสูตรทั้งหมด โดยให้น้ำหนักความสำคัญอยู่ในช่วงร้อยละ 18.57-25.19 % และมีหมวดด้านการจัดการกลยุทธด้านโลจิสติกส์ขององค์กรและด้านการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์ มีอย่างละ1 หลักสูตร หมวดหมู่ที่หลักสูตรในประเทศไทยที่ได้ให้การสัมภาษณ์มาให้ความสำคัญน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดการและการพัฒนาองค์กร มี 8 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 61.54 ของหลักสูตรทั้งหมด โดยให้น้ำหนักความสำคัญอยู่ในช่วง ร้อยละ 2.38-10.39 หมวดหมู่ด้านการจัดการกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ขององค์กรมี 2หลักสูตร และหมวดด้านการจัดการโลจิสติกส์ภายในโรงงานมี 2 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 15.38 ของหลักสูตรทั้งหมด โดยให้น้ำหนักความสำคัญอยู่ในช่วงร้อยละ 6.17-7.23 และหมวดหมู่ด้านการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์มาใช้ 1 หลักสูตร ที่ร้อยละ 5.95
6.สรุปผลการศึกษาจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรโลจิสติกส์ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในหมวดหมู่ด้านการจัดการด้านการขนส่ง ซึ่งประกอบด้วย การขนส่งสินค้า การกระจายสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การขนถ่าย และการบริการลูกค้าต่าง ๆ เช่น การส่งมอบสินค้า หรือการบริการหลังการขายรวมถึงการ Reverse Logistics ส่วนหมวดหมู่ที่หลักสูตรในประเทศไทยให้ความสำคัญน้อยที่สุด คือ หมวดหมู่ด้านประกอบด้วยการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์ด้านการบัญชีด้านการเงิน ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการจัดการและการพัฒนาองค์กร ซึ่งประกอบด้วย เรื่องเกี่ยวกับภาษีอากร และด้านพฤติกรรมองค์กรที่ เกี่ยวข้องกับงานด้านโลจิสติกส์ตลอดจน ด้านการตลาด และงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากการสัมภาษณ์หลักสูตรด้านโลจิสติกส์ต่างๆ สรุปได้ว่า ในปัจจุบันหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทยในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ไม่ว่าเป็น ด้านบริหารธุรกิจและการจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือวิศวกรรมศาสตร์นั้น มุ่งเน้นในหมวดหมู่ที่แตกต่างกันออกไป การให้ความสำคัญหมวดหมู่ต่างๆ ด้านโลจิสติกส์นั้น มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวหลักสูตร บุคลากรในหลักสูตร อาจเนื่องจากตัวหลักสูตรเอง หรืออาจารย์ที่สอนประจำหลักสูตร งานวิจัยที่อาจารย์ในหลักสูตรสอนส่งผลทำให้เกิดความหลากหลายอย่างครบถ้วนในแต่ละหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านโลจิสติกส์ตามหมวดหมู่ที่แบ่งไว้ ฉะนั้นหากนักศึกษาที่ต้องการศึกษาหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ ควรพิจารณาว่าหลักสูตรใดเหมาะสมกับความต้องการของตัวนักศึกษาเอง ส่วนเจ้าของหลักสูตรควรสื่อสารให้ชัดเจนว่าหลักสูตรของตนเองนั้นเน้นทางหมวดหมู่ใด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจเข้ารับการศึกษาทราบ และเพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
7.ข้อเสนอแนะ
                การศึกษาครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลเพียง 43.33 % ของหลักสูตรที่เปิดสอนทั้งหมดที่สามารถหาข้อมูลได้
หากได้ข้อมูลมากกว่านี้จะทำให้ทราบว่าหลักสูตรโลจิสติกส์ในประเทศไทย เน้นหมวดหมู่ใดได้ใกล้เคียงเป็นความจริงมากที่สุด ในการศึกษาครั้งนี้ พบปัญหา คือ ผู้ที่ถูกสัมภาษณ์สับสนกับการให้คะแนน เนื่องจากมีการเปรียบเทียบจำนวนมาก นอกจากนี้อาจารย์ประจำหลักสูตรบางท่านไม่เข้าใจในการกรอกแบบสอบถามทำให้ในการกรอกคะแนนไม่ตรงตามความเป็นจริง ทำให้มีปัญหาในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์การแบ่งหมวดหมู่ของงานด้านโลจิสติกส์มีส่วนประกอบหลากหลายแล้วแต่จะใช้มุมมองอย่างไร และขึ้นอยู่กับว่าแต่ละองค์กรจะผสมผสานหมวดหมู่หรือส่วนประกอบนั้นๆ อย่างไร นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านโลจิสติกส์ที่ไม่มีชื่อหลักสูตรว่าโลจิสติกส์อีกมากมาย เช่น วิศวกรรมอุตสาหการ การจัดการอุตสาหกรรม นิติศาสาตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริหารธุรกิจสาขาการตลาด ชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
8.กิติกรรมประกาศ
                ขอขอบคุณอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกหลักสูตรที่สละเวลาให้ข้อมูลคณะที่ทำการศึกษา และ
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ ที่ติดต่อประสานงานให้จนได้รับการสัมภาษณ์
บรรณานุกรม
[1] ชญานิน อารมณ์รัตน์. 2547. การวิเคราะห์ระบบคะแนนของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ สำหรับ
       อุตสาหกรรมการผลิต,วิทยานิพนธ์ (วศ..), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[2] ฐาปนา บุญหล้า. 2549. โลจิสติกส์ประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
[3] วรพจน์ มีถม.2538. การตัดสินใจเลือกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ กรณีศึกษาโรงงานผลิตของเล่นไม้เพื่อ
       การศึกษา,วิทยานิพนธ์ (วศ..), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] วรพจน์ มีถม. อรรถกร เก่งพล. “การศึกษาความสำคัญของปัจจัยที่ใช้ในการประเมินรางวัลคุณภาพ
       แห่งชาติ”,การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ,24-26 ตุลาคม 2550.
[5] วิทยา สุหฤทดำรง.2547 ผู้นำในการบริหารจัดการโลจิสติกส์.กรุงเทพ ฯ.ไอทีแอล เทรด มีเดีย.
[6] วิทยา สุหฤทดำรง.2546.ลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน อธิบายได้ง่ายนิดเดียว.กรุงเทพฯ.
       ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[7] วิฑูรย์ ตันศิริคงคล.2542.AHP กระบวนการตัดสินใจ(ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก).กรุงเทพฯ.
[8] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.).2550.
       แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบลอจิสติกส์ของประเทศไทย พ..2550-2554.
[9] อรุณ บริรักษ์ .Logistics Case Study In Thailand.กรุงเทพฯ.2545